วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

Artists of Thailand


สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่บล็อก Artists of Thailand นะคะ ที่นี่รวมข้อมูลของศิลปินแห่งชาติสาขาจิตกรรมของประเทศไทยค่ะ สามารถหาอ่านข้อมูลของศิลปินหลายๆท่านได้ที่นี่ค่ะ [เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาทัศนศิลป์ หากผิดพลาดประการใด ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะคะ]


ถวัลย์ ดัชนี [จักรพรรดิแห่งผืนผ้าใบ]

ที่มา :http://www.bloggang.com/data/haiku/picture/1397008366.jpg

ประวัติโดยย่อ


วันเกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2482  ที่จังหวัดเชียงราย

วันเสียชีวิต 3 กันยายน พ.ศ. 2557 (74 ปี) โรงพยาบาลรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

เชื้อชาติ ไทย

ศิลปินสาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกร)

การศึกษา/ฝึก วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตกรรม) พ.ศ. 2544






ถวัลย์ ดัชนี ได้รับฉายาว่า "จักรพรรดิแห่งผืนผ้าใบ" และยังได้ฉายาร่วมกับเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินรุ่นน้องที่เป็นชาวเชียงรายเช่นเดียวกันว่า "เฉลิมชัย-สวรรค์ ถวัลย์-นรก" เนื่องจากผลงานของเฉลิมชัยมักมุ่งเน้นไปที่ภาพสวรรค์ หรือภพภูมิแห่งนิพพาน แต่ขณะของถวัลย์กลับให้อารมณ์ตรงกันข้าม เพราะมุ่งเน้นไปที่ความน่าสะพรึงกลัว หรือภาพของบาปหรือกิเลสในตัวตนมนุษย์

ผลงานเด่น

- ภาพเขียนสีน้ำมัน 10 ภาพ ประดับอยู่ที่โรงพิมพ์สยามรัฐ
         - งานจิตรกรรมวิทยานิพนธ์ศิลปบัณฑิต คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร 12 ภาพ ประดับอยู่ที่สถานทูต
         - งานวาดเส้นและจิตรกรรมขนาดใหญ่  5 ภาพ ปัจจุบันเป็นผลงานในการสะสมของโซธปี้ สิงคโปร์ ประมูลมาจากอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในงานกิจกรรมที่มีมูลค่าสูงสุดของเอเชีย
         - ภาพเขียนจิตรกรรมขนาดใหญ่ประดับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส
         - ภาพเขียนการกำเนิดจักรวาล สำหรับสำนักกลางคริสเตียน ประเทศไทย กรุงเทพฯ
         - ผลงานวาดเส้น ที่ตอนนี้ถูกสะสมไว้ในหลายพิพิธภัณฑ์ศิลปะของเยอรมนี
         - ผลงานสะสมในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน
         - ภาพเขียนประดับขนาดใหญ่ ประดับบริษัทเชลล์ แห่งประเทศไทย
         - ภาพเขียนภูมิจักรวาลตามไตรภูมิของปกรณัมไทย
         - ภาพเขียนประดับธนาคารแห่งประเทศไทย
         - ผลงาน มารผจญ 1 และ มารผจญ 2
         - ภาพสุดท้าย ภาพ "ม้า" เป็นภาพที่อ.ถวัลย์วาดในช่วงสุดท้ายของชีวิต


         จากตัวอย่างผลงานที่ข้างต้น เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าผลงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั่วโลก เนื่องจากการที่งานวาดภาพของท่านมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากที่ใครจะลอกเลียนได้ โดยผลงานของ อ.ถวัลย์ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวปรัชญาทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นก็ได้นำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึก และแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระและมีชีวิตจิตวิญญาณของความเป็นไทยมาผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก


ที่มา : http://www.rakbankerd.com/moca/view.php?id=98
                   ตัวอย่างภาพของ อ. ถวัลย์ ดัชนี " มารผจญ "
ผลงานจิตรกรรมของถวัลย์มีองค์ประกอบและการวางองค์ประกอบที่ได้อิทธิพลของจิตรกรรมฝาผนังมารผจญเป็นรูปแบบเฉพาะตัว


รางวัลที่เคยได้รับ

พ.ศ. ๒๕๐๓ รางวัลที่ ๒ การประกวดศิลปกรรม ณ วังสวนผักกาด
พ.ศ. ๒๕๐๕ รางวัลที่ ๑ การประกวดศิลปกรรม จัดโดย องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพ
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับรางวัลเกียรติยศเหรียญทองจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในฐานะจิตรกรผู้สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับเลือกจากองค์การสหประชาชาติ ให้เป็นผู้แทนวัฒนธรรมทางศิลปะภาคตะวันออกไปแสดงผลงานที่นิวยอร์ค ปารีส โรม ลิสบอน แคนเบอร่า และโตเกียว ตามลำดับ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับคัดเลือกจาก FUKUOKA ASIAN CULTURE PRIZE COMMITTEE ให้รับรางวัล Arts and Culture Prize 




เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ประวัติโดยย่อ


เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุข​


ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะสมัยใหม่




ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/205153
ผลงาน

การแสดงผลงาน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน


-พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง









ที่มา : http://whitetemplethailand.blogspot.com/2011/10/blog-post_1934.html
พระพุทธเจ้าและพระสาวก (Lord Buddha and His Disciples)



รางวัลและเกียรติยศ


    * พ.ศ. 2520 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
    * พ.ศ. 2520 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
    * พ.ศ. 2522 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพ
    * พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้าน จิตรกรรม จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    * พ.ศ. 2537 - ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "เพชรสยาม" (สาขาจิตรกรรม) จากสถาบันราชภัฎจันทรเกษม
    * พ.ศ. 2538 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เขียนภาพประกอบ บทพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก"

และออกแบบเหรียญพระราชทานคณะแพทย์

    * พ.ศ. 2543 - ที่ปรึกษากรมศิลปากร งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง




ประเทือง เอมเจริญ



ที่มา : http://www.artbangkok.com/?p=10377

ประวัติโดยย่อ


นายประเทือง เอมเจริญ ปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินที่ศึกษาศิลปะด้วยตนเองอย่างมุ่งมั่น อดทน ด้วยการศึกษาค้นคว้างานทางศิลปะอย่างหนัก ศึกษาปรัชญาชีวิตทั้งศิลปะของอินเดีย จีนและศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะ ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังแสงสว่าง จนเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็น รูปแบบของตนเอง มองโลกในแง่ดี เชื่อในคุณงามความดี สร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบการผสมผสานระหว่างสิ่งที่รับรู้จากธรรมชาติและอารมณ์ความรู้สึกของตนเองด้วยสีสันสดใส สร้างรูปทรงต่างๆ อย่างอิสระและทรงพลัง ซึ่งได้กลายมาเป็นผลงานชุดเผชิญความทุกข์” “เรียนรู้จักรวาล 
                                                        
นายประเทือง เอมเจริญ จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช ๒๕๔๘




                                    

ที่มา : http://www.artbangkok.com/?p=10377


รางวัลที่เคยได้รับ

๒๕๑๐ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม
๒๕๑๑ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๓ เหรียญทองแดง ปรเภทจิตรกรรม
๒๕๑๑ รางวัลการประกวด องค์การโทรศัพท์สากล ไอทีที
๒๕๑๗ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๓ เหรียญทองแดง ปรเภทจิตรกรรม
๒๕๑๙ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๓ เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม
๒๕๓๘ โล่เกียรติคุณบริจาคช่วยปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่เสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม สมาคมเผยแพร่และส่งเสริมศิลปะวัตถุ
๒๕๓๙ รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) สำนักงานคณะกรรมาการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๒๕๔๑ โล่ขอบพระคุณในโอกาศให้ความร่วมมือสนับสนุนการจัดทำกิจกรรม วาดวิถีไทย” Phonelink
๒๕๔๒ โล่เกียรติคุณในการอนุเคราะห์ภาพเขียนเพื่อจัดพิมพ์บัตรอวยพรปีใหม่ ประจำปี ๒๕๔๒ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๒๕๔๓ โล่เกียรติคุณในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานแสงสีสร้างสรรค์ ทบวงมหาวิทยาลัย
๒๕๔๔ ประกาศเกียรติคุณด้านจิตรกรรม พิพิธภัณฑ์ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ชวลิต เสริมปรุงสุข
ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=221370
ชวลิต จบจากรั้วศิลปากร และเป็นศิษย์ยุคสุดท้ายที่มีโอกาสเรียนกับอ.ศิลป์ พีระศรี ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตลง และโชคดีที่ได้มีโอกาสร่ำเรียนกับปรมาจารย์ทางด้านศิลปะอีกหลายท่าน อาทิ อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ,.สนั่น ศิลากร , .เขียน ยิ้มศิริ,.ทวี นันทขว้าง เป็นต้น ในช่วงที่เป็นนักศึกษานั้น ชวลิตได้มีโอกาสใกล้ชิดกับอ.ศิลป์ อย่างมากถึงขนาดตามท่านออกไปอยุธยา ซึ่งในขณะนั้นทางยูเนสโกต้องการให้ทุนรัฐบาลไทยในการซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนัง และอ.ศิลป์เป็นผู้ที่เห็นแววทางศิลปะในตัวชวลิต จึงเลือกเขาให้มาร่วมงานด้วย
      
       เมื่อจบจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมในปี 2505 ประกอบกับการขาดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างอ.ศิลป์ พีระศรีแล้ว ชวลิตจึงมุ่งหน้าไปแสวงหาตัวตนและออกไปสู่วงการศิลปะนานาชาติต่อไป และเขาก็ทำสำเร็จเมื่อได้รับทุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นคนแรกที่ได้ไปเรียนต่อที่ Rijksacademie Van Beeldende Kunsten กรุงอัมสเตอร์ดัม



ที่มา : http://www.tiscoart.com/work/work40decade/076.jpg




ผลงานและเกียรติคุณ

- ได้รับรางวัลเกียรตินิยม เหรียญเงิน เหรียญทองแดง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ยุคศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี
- มีผลงานจัดแสดงทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม ในประเทศและนานาชาติ
- ผลงานได้รับการเก็บสะสมอยู่ในสถาบันศิลปะ หน่วยงานรัฐและเอกชนในหลายประเทศ
- ผลงานที่มีชื่อเสียง มีทั้งจิตรกรรม วาดเส้น และภาพพิมพ์แนวนามธรรม ตลอดจนประติมากรรมสื่อผสม







ขอขอบคุณผู้ที่สนใจทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกนี้ค่ะ และขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงซึ่งให้ข้อมูลน่ารู้แก่บล็อกนี้ด้วยนะคะ สวัสดีค่า








อ้างอิง :

http://www.sipang-artgallery.com/% A5%E0%.html
https://artcharisma.wordpress.com/artist
http://www.archives.su.ac.th/senior/sen47/chawalit.htm
http://www.artbangkok.com/?p=10377
http://www.bloggang.com/data/haiku/picture/1397008366.jpg